ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาประกาศตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ภายใต้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จนกระทั่งถูกโอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2510 เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเพียงแปดเดือนเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทย ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือด้านแพทยศาสตรศึกษาขององค์การอนามัยโลกในประเทศไทย

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์และสหศาสตร์ เผยแพร่ความรู้สู่สังคมและให้การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนทั่วไป มีชื่อเสียงและผลงานด้านการรักษาพยาบาล รวมถึงงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ในปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีภาควิชาที่ทำการเรียนการสอนอยู่ 21 ภาควิชา และมีหน่วยงานภายใน 9 หน่วยงาน โดยแต่ละภาควิชาจะมีฐานะเป็นแผนกหนึ่งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและคณะบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นบุคคลคนเดียวกัน นอกจากนี้คณาจารย์ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อีกด้วย

ที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ในพื้นที่ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภาากาชาดไทย พื้นที่ด้านทิศตะวันตกติดกับถนนอังรีดูนังต์ ทิศใต้ติดกับถนนพระรามที่ 4 ด้านทิศตะวันออกติดกับถนนราชดำริและทิศเหนือติดกับราชกรีฑาสโมสร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร สามารถเดินทางมาถึงได้โดย รถยนต์ส่วนตัว รถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นโดยตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุขหรือวังหลัง พระราชทานนามว่า โรงศิริราชพยาบาล (ปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลศิริราช) ซึ่งมีความจำเป็นต้องหาแพทย์มาประจำในโรงพยาบาลจึงมีความจำเป็นต้องเปิดโรงเรียนแพทย์ขึ้นเพื่อผลิตแพทย์ให้เพียงพอต่อความต้องการ โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตตั้งโรงเรียนแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อว่า โรงเรียนราชแพทยาลัย (ปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล) ซึ่งเป็นสถานที่ฝึกอบรมรมแพทย์เพียงแห่งเดียวของประเทศในขณะนั้นซึ่งตั้งเป้าหมายการผลิตแพทย์ไว้ประมาณ 50 คนต่อปี แต่ความนิยมของผู้ป่วยที่ต้องการเข้ารับการรักษาแพทย์แผนปัจจุบันนั้นมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ยิ่งทำให้เกิดความต้องการแพทย์เพิ่มมากยิ่งขึ้น ทำให้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลต้องเพิ่มจำนวนการรับนักเรียนแพทย์แต่ด้วยมีทรัพยากรและสถานที่จำกัดทำให้รับนักเรียนแพทย์ได้ไม่เกิน 100 คนต่อปีเท่านั้น

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเสด็จพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "...พระองค์มีพระราชประสงค์ให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ผลิตแพทย์ผู้ได้สำเร็จหลักสูตรให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อออกมาช่วยเหลือประเทศชาติ..."

เพื่อสนองพระราชประสงค์ดังกล่าว รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณจำนวนหนึ่งให้แก่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เพื่อให้สามารถผลิตแพทย์เป็นจำนวนมากพอกับความต้องการของประเทศชาติ และมีการเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวไว้ 3 แนวทางด้วยกัน ได้แก่

เมื่อพิจาณาจาก 3 แนวทางขั้นต้น พบว่า แนวทางแรกนั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากในขณะนั้นคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มีทรัพยากรและสถานที่จำกัดไม่สามารถรองรับการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นได้อีก ส่วนแนวทางที่สองนั้นต้องใช้เวลาและงบประมาณจำนวนมากและไม่ทันการกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ดังนั้น แนวทางที่ 3 จึงเป็นแนวทางที่ใช้เวลาและงบประมาณไม่มากนัก รวมทั้ง ยังสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้รวดเร็วที่สุด โดยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ของสภากาชาดไทย มีความพร้อมทั้งในด้านสถานที่และอุปกรณ์ ด้วยเคยใช้เป็นโรงเรียนแพทย์ทหารบกมาก่อน สามารถพัฒนาให้เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่สองของประเทศต่อไปได้

ศาสตราจารย์ นพ.เฉลิม พรมมาส ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้น จึงได้ติดต่อประสานงานการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่ผ่านทางผู้อำนวยการกองบรรเทาทุกข์และอนามัย สภากาชาดไทย พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) หรือ ศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ โดยขอความร่วมมือไปยังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน คณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่จึงก่อกำเนิดขึ้นในนาม "คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" และสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ ภายใน 9 เดือนเศษนับจากวันที่ได้เริ่มมีการติดต่อครั้งแรก โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2490 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ให้แบ่งส่วนราชการคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ออกเป็น 10 แผนก ได้แก่ แผนกอำนวยการ แผนกกายวิภาคศาสตร์ แผนกสรีระวิทยา แผนกพยาธิวิทยา แผนกอายุรศาสตร์ แผนกศัลยศาสตร์ แผนกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา แผนกรังสีวิทยา แผนกกุมารเวชศาสตร์ และ แผนกจักษุวิทยาและวิทยาโสตนาสิกลาริงซ์ และได้เปิดการภาคเรียนเป็นปฐมฤกษ์ ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2490 มีนักศึกษาปีแรก 67 คน (ขณะอยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ใช้คำเรียกผู้ศึกษาว่า"นักศึกษา")

ปัจจุบันแบ่งส่วนงานออกเป็น 21 ภาควิชาและสำนักงานเลขานุการคณะ โดยในแต่ละภาควิชาของคณะแพทยศาสตร์มีฐานะเป็นแผนกหนึ่งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นอกจากนี้คณาจารย์ของคณะแพทยศาสตร์ ยังปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ประจำในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อีกด้วย

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต จำนวน 3 หลักสูตร และเปิดสอนหลักสูตรสหสาขาวิชาร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษในสาขาต่างๆเพื่อสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งศูนย์ต่างๆได้สร้างชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ และสำหรับศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษในสาขาต่างๆ มีรายชื่อดังนี้

ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยให้กับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยได้หลายวิธี ดังนี้

การอุทิศร่างกายมีส่วนสำคัญในการพัฒนาการศึกษาด้านแพทยศาสตร์เป็นอย่างมาก ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาจะถูกเรียกว่า "อาจารย์ใหญ่" เพราะนอกจากท่านจะเป็นผู้ให้ความรู้โดยละเอียดด้านกายวิภาคศาสตร์ได้สมบูรณ์แบบและเสมือนจริงที่สุดอย่างไม่มีสิ่งใดทดแทนได้ให้แก่นิสิตแพทย์แล้ว อาจารย์ใหญ่แต่ละร่างยังเป็นผู้ฝึกอบรมทักษะการช่วยชีวิตผู้ป่วยและการผ่าตัดขั้นสูงด้วย ซึ่งในแต่ละปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำเป็นต้องใช้ร่างอาจารย์ใหญ่มากกว่า 200 ท่าน ประชาชนทั่วไปสามารถศึกษารายละเอียดและแสดงความจำนงเป็นผู้อุทิศร่างกายได้ที่ ศาลาทินทัต ด้านข้างอาคาร ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เวลา 08.30-16.30 น วันจันทร์-ศุกร์ (เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์) อย่างไรก็ตามคณะแพทยศาสตร์ไม่สามารถรับศพผู้อุทิศร่างกาย ดังนี้

การที่ผู้ป่วยยินยอมให้นิสิตแพทย์และพยาบาลเข้าร่วมสังเกตการรักษาและให้ความร่วมมือแก่นิสิตระหว่างการรักษา เช่น การให้ข้อมูลของผู้ป่วยโดยละเอียดระหว่างการติดตามอาการและการบันทึกประวัติ ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้อาจารย์แพทย์ได้ทำการสอนนิสิตจากสภาพจริง เอื้อเพิ่มพูนทักษะให้กับนิสิตแพทย์และพยาบาลในหลายด้าน นับว่าเป็นขั้นตอนสำคัญของการศึกษาด้านแพทยศาสตร์ จึงเป็นการแสดงการมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยของผู้ป่วยและประชาชนผู้เข้ารับการรักษาที่มีต่อคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จทางด้านการแพทย์มากมาย โดยผลงานเด่น ๆ มีดังนี้

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับความไว้วางใจจากองค์การอนามัยโลกให้เป็น WHO Collaborating Centre ในสาขาต่างๆ อาทิ

ตามข้อตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และสภากาชาดไทยให้คณบดีคณะแพทยศาสตร์และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นบุคคลคนเดียวกันแต่แยกการบริหารออกเป็น 2 หน่วยงาน รายนามคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีดังนี้

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลิตบุคลากรทางด้านการแพทย์ ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยคณาจารย์และศิษย์เก่าได้รับรางวัลมากมายทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เช่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น , เมธีวิจัยอาวุโส สกว. , นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ นอกจากนี้ ศิษย์เก่ายังมีบทบาททางการเมือง การปกครอง และการบริหารต่าง ๆ นิสิตเก่าและคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง เช่น

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ในพื้นที่ของสภากาชาดไทย มีอาคารเรียนและอาคารฝึกปฏิบัติหลายแห่ง เพื่อรองรับอุปกรณ์การแพทย์ บุคลากรและนิสิตที่มีจำนวนมากและผู้เข้ารับการบริการทางการแพทย์ รวมถึงรถยนต์ที่มากตามจำนวนคน ซึ่งที่ดินใจกลางเขตเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครมีข้อจำกัดในการขยายตัว อาคารหลายหลังจึงเป็นอาคารสูงและหลายหลังมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น อาทิ อาคารอำนวยการหลังแรกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบศิลปะตะวันตก อาคารสถาปัตยกรรมร่วมสมัยอย่างอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ซึ่งอาคารเหล่านี้เป็นจุดสังเกตสำคัญในการเดินทางมายังคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร คณะกรรมการบริหารสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จึงดำเนินการขอพระบรมราชานุญาตจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เพื่อประดิษฐานหน้าอาคาร อานันทมหิดล โดยได้ติดต่อคุณไข่มุก ชูโต เป็นปฏิมากรผู้ออกแบบปั้นพระบรมรูป ซึ่งหล่อด้วยส่วนผสมของทองเหลืองและทองแดง มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ประทับนั่งเหนือพระเก้าอี้ ผินพระพักตร์ไปทางเบื้องขวาเล็กน้อย โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเททองหล่อพระบรมรูป เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2528 หลังการดำเนินการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์แล้วเสร็จ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 อนึ่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นประจำทุกปีสืบเนื่องถึงปัจจุบัน

วันอานันทมหิดล เป็นวันที่มีความสำคัญต่อชาวแพทย์จุฬาฯ กล่าวคือเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงดำริที่จะจัดงานวันอานันทมหิดลขึ้นเป็นประจำทุกปี ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านซึ่งได้สร้างคุณูปการด่อวงการแพทย์และการศึกษา เพื่อเป็นการเผยแผ่พระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ ตลอดจนเป็นการเฉลิมพระเกียรติล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 8 ให้พสกนิกรได้ร่วมน้อมรำลึกถึงพระองค์สืบไป

กิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วยพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ ซึ่งประดิษฐานหน้าอาคาร "อานันทมหิดล" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของ คณาจารย์ แพทย์ พยาบาล นิสิตแพทย์และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การจัดทำเข็มกลัดที่ระลึกเนื่องในวันอานันทมหิดล เพื่อออกรับบริจาคโดยนิสิตแพทย์ รายได้สมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดลและช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์เนื่องในวันอานันทมหิดลชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การจัดงานเสวนาเนื่องสัปดาห์วันอานันทมหิดล และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ริเริ่มจัด โครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบท (Medical Education for Students in Rural Area Project-MESRAP) เป็นครั้งแรกของประเทศเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาทางด้านแพทยศาสตร์ไปสู่ชนบทเป็นครั้งแรก และเป็นแม่แบบของ โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor-CPIRD) ของกระทรวงสาธารณสุขในเวลาต่อมา โดยคณะได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข จัดการเรียนการสอนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรีและโรงพยาบาลชลบุรี นอกจากนี้ยังได้ริเริ่ม โครงการการศึกษาแพทย์แนวใหม่เป็นแห่งแรกของประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2531 โดยเป็นโครงการร่วมระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-กองทัพอากาศดำเนินการรับนิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสายวิทยาศาสตร์ มาศึกษาต่อในสาขาแพทยศาสตร์เป็นเวลา 5 ปี โดยใช้โรงพยาบาลภูมิพลอดุลเดชเป็นสถานที่เรียนชั้นคลินิก และยุติโครงการไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ในปี พ.ศ. 2556 ทางโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จะเปิดโครงการร่วม "แพทย์จุฬาฯ-ทหารอากาศ" โดยศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ที่โรงพยาบาลภูมิพลฯ

ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงและพัฒนาโครงการผลิตแพทย์ต่างๆตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีโครการที่ยังคงดำเนินการอยู่ ได้แก่ โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โครงการทุนกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (One Doctor One District project-ODOD) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐด้านสาธารณสุข (Mega project) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 โดยนิสิตในทุกโครงการจะศึกษาในชั้นปีที่ 1-3 (พรีคลินิก) ที่คณะแพทยศาสตร์และคณะอื่นๆในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นจึงไปศึกษาต่อระดับชั้นคลินิกในโรงพยาบาลที่ให้ความร่วมมือในโครงการผลิตแพทย์ต่างๆ ดังนี้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301